วัดถ้ำผาแด่น
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  
กว่าจะมาเป็นวัดผาแด่น 
(addnew) 2010913_59669.jpg(addnew) 2010913_59701.jpg(addnew) 2010913_59729.jpg

สังเขปวัด 

    ประวัติความเป็นมา ลักษณะ  ที่ตั้ง  ภูมิประเทศ  วัดถ้ำผาแด่น  บ้านดงน้อย ต.ดงมะไฟ  อ.เมือง จ.สกลนคร 

ประวัติความเป็นมา 

               ภูผาแด่น  เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน   เป็นเทือกเขาแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นมายาวนานของเมืองสกลนคร   ยังเป็นที่ตั้งของสามสถาบันหลักของประเทศไทย  (1 ) สถาบันชาติ  ซึ่งเป็นที่ตั้งและถิ่นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชนหลายกลุ่ม  หลายเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  ที่รักความสงบ เรียบง่าย ที่ยังคงวัฒนธรรมเก่า ๆ ให้เห็น  (2)  สถาบันศาสนา  ซึ่งเป็นที่ตั้งลัทธิ (ความเชื่อ อันมีคำสอน) หรือ เป็นที่ก่อเกิด  ถือกำเนิดถิ่นพุทธธรรมที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย เช่น หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต  ผู้นำกองทัพธรรม , หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร  หรืออีกหลาย ๆ รูป ในเมืองสกลนคร  และยังเป็นถิ่นอุบัติขึ้นของลัทธิ ศาสนาอื่น ๆ เช่น ลัทธิคอมนิวนิตส์, ศาสนาคริส, อื่น ๆ  (3)  สถาบันพระมหากษัตริย์   เมืองสกลนครเป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ฯ  ได้เสด็จประทับเป็นประจำทุกปี   ฉะนั้นจึงถือได้ว่าเมืองสกลนครนั้น เป็นเมืองที่ไม่ธรรมดา  ที่เป็นที่ตั้งของสามสถาบันหลักของประเทศไทย 

 (_thumbs) 2010914_38053.jpg(_thumbs) 2010914_38066.jpg 

             ลักษณะที่ตั้งของ ของภูผาแด่น 

                           ภูผาแด่น   มีลักษณะเป็นป่าดงดิบ  และมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยเมื่อในอดีตที่ผ่านมา  ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ฝูงสัตว์ป่า และพันธุ์ไม้นานาพันธุ์  หลายชนิด  เช่น ฝูงเสือ,โขลงช้าง,ลิง,ค่าง,บ่าง,ชะนี,อีเก้ง,กวาง,งูจงอาง.งูเห่า.วัวป่า.ละมั่ง,หมีควาย,หมาป่า,เลียงผา,ไก่ป่า,นกยูง,กระแต,กระกรอก,กบ,เขียด,และค้างคาว ฯลฯ ตลอดจนเต็มไปด้วยป่าสมุนไพรนานาชนิด  ดอกไม้นานาพันธุ์  นอกจากนั้นเทือกเขาภูพานแห่งนี้ยังเป็นแหล่งต้นกำเนิดแหล่งน้ำที่สำคัญ  และต้นกำเนิดของแม่น้ำ, ลำธาร,ห้วยน้ำ    เช่น ห้วยปุ,ห้วยเรือ,เป็นแหล่งกำเนิดลำน้ำพุง,ลำน้ำอูน,ห้วยเดียก และแหล่งน้ำอื่น  ๆ ซึ่งเป็นต้นน้ำที่ใช้ประกอบการเกษตรของชาวสกลนครและนครพนม เป็นต้น  โดยเฉพาะที่ภูผาแด่นบนยอดเขา ยังเป็นแหล่งน้ำแร่ที่ใสสะอาด  ที่ผุดขึ้นมาจากยอดเขาในป่าดงดิบ เป็นน้ำแร่ธรรมชาติไหลตลอดปี  หล่อเลี้ยงในวัดถ้ำผาแด่นไม่เคยหยุดไหล ตลอดจนให้ความอุดมสมบูรณ์กับธรรมชาติ  เช่น วัดถ้ำผาแด่น ,สัตว์ป่า, ต้นไม้ นานาพันธุ์ ได้พึ่งพาอาศัย จากต้นน้ำ   ภูผาแด่น  อยู่ในเขตพื้นที่ปกครองบ้านดงน้อย  ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร  ตั้งอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูพาน ตอนกลาง  มีลักษณะเป็นเขาสูงเป็นสันยาวไปตามเทือกเขา  มองไปเห็นพื้นที่รอบ ๆ หลายกิโลเมตร  สามารถมองเห็นตัวเมืองสกลนคร ,หนองหาร และพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์  ตลอดจนความสวยงามของ ทิวทัศน์โดยรอบ ๆ  และยังเป็นทิวเขาที่เป็นทิวเขาทอดมาจากจังหวัดอีสานเหนือ  จนสุดเขตจังหวัดอีสานใต้   ตามหลักภูมิศาสตร์     หน้าผาแด่น  มีลักษณะเป็นผาหิน  สูงชัน เป็นสีขาว- คราม แลดูมีความสวยงามมีเสน่ห์สามารถมองเห็นไปได้ไกลหลายกิโลเมตร   บริเวณรอบ ๆ ตีนผา  มีหญ้า  และต้นไม้น้อยใหญ่ ขึ้นอยู่ รอบเรียงราย และยังมีผาน้ำหยด (น้ำตก) ไหลลงมาจากหน้าผา ตลอดทั้งปี       เมื่อก่อนนี้  ยังมีรังผึ้งหลวง   มาทำรังอยู่ตามหน้าผาอยู่ทั้งปี  ซึ่งในปีหนึ่งผึ้งหลวงจะทำรังมากถึงปีละ 200-300 รัง โดยขนาดของรังผึ้งมีขนาดใหญ่ 2-3 เมตร   เกาะอยู่ตามหน้าผา  ดูแล้วสวยงามน่าอัศจรรย์ ในความงามของธรรมชาติสร้างสรรค์  แต่เดียวนี้ถูกชาวบ้านตีเอารังผึ้งไปหมด ทำให้ปริมาณของรังผึ้งที่เคยมาอยู่อาศัย  ตามหน้าผาหมดไป  แทบไม่มีให้เห็น  และยังมีฝูงค้างคาวบินโฉบกินแมลงอยู่ทั้งคืน นับเป็นความงามของธรรมชาติ ที่พึ่งพาอาศัยกันอย่างลงตัว   และยังมีหน้าผาช่องแคบ เป็นหินที่แยกออกจากกันสวยงาม เหมือนมีใครมาตกแต่ง  โดยหินได้แยกออกจากกัน เป็นช่องพอสำหรับคนเดินไปตรงกลางช่องหิน  ด้านบนเป็นลานหินกว้าง  ตามสันเขาที่เคยถูกตัดต้นไม้   จนโล่งเตียนเป็นลานหญ้าคา  ขณะนี้พระภิกษุได้นำพันธุ์ไม้นานาพันธุ์มาปลูกใหม่จนเต็มไปด้วยต้นไม้กำลังขึ้นแทนที่  ป่าไม้ที่เคยถูกตัดทำลาย   หน้าผาภูผาแด่น  มีลักษณะทอดยาวเป็นแนวตามสันเขาภูพาน  ทางด้านทิศตะวันออกทอดมาจากถ้ำบิ้ง (ถ้ำค้างคาว) ซึ่งเป็นลานหินที่กว้างใหญ่ และสวยงาม  ซี่งลานหินนี้เคยมีประวัติ  ความเป็นมาว่าเมื่ออดีต  เป็นที่ปักกลด  ธุดงค์ วิเวก บำเพ็ญธรรม  ของหลวงปู่มั่น   ภูริทตฺโต   เมื่อในอดีตที่ผ่านมา  ดังที่จะกล่าวในช่วงต่อไป  ทางด้านทิศตะวันตกของถ้ำผาแด่น   ทอดยาวไปจดกับภูกะต่อย  ซึ่งถ้ำแห่งนี้เคยมีประวัติความเป็นมาว่า เป็นที่ปักกลด ธุดงค์ วิเวก  บำเพ็ญธรรม ของ พระอาจารย์ วัน  อุตฺตโม  แล้วจะได้นำมาเล่าในช่วงต่อไป  ถ้าพิจารณาให้ดี โดยธรรมชาติที่สวยงามแล้ว  วัดถ้ำผาแด่นมีความสวยงามไม่แพ้วัดเขาสุกิม ของพระอาจารย์ หลวงปู่ สมชาย  ที่ยังคงความสวยงามเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นทิวทัศน์  ทัศนีย์ภาพ ของธรรมชาติ  ได้อย่างลงตัว     ถ้ำผาแด่น   เป็นส่วนหนึ่งของหน้าผาแด่น  มีลักษณะเป็นโพลงลึกเข้าไป เป็นโพลงหินลึก  ส่วนที่เป็นถ้ำบางถ้ำ  เช่น  ถ้ำที่อยู่หน้าผาแด่น  มีความลึกไม่มาก ประมาณ  5-10 เมตร แต่จะยาวไปตลอดหน้าผาแด่น ถ้ำหลวงปู่ฝั้น  อาจาโร  ที่เคยอยู่ปฏิบัติธรรม  มีความลึกจากด้านนอก  คือจากปากถ้ำลึกถึงข้างใน ประมาณ 22 เมตร  มีความกว้าง ประมาณ  10 เมตร  ถ้ำหลวงปู่ฝั้น  จะมีน้ำไหลตลอดทั้งปี  โดยน้ำจะหายไปในถ้ำแล้วไปไหลออกที่ห้วยปุ  ทำให้ห้วยปุมีน้ำไหลทั้งปี   ถ้ำหลวงปู่ วัน  อุตตโม  ที่เคยอยู่ปฏิบัติธรรม  มีความลึกประมาณ 10  เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร และจะมีน้ำไหลมาจากบ่อน้ำทิพย์  ตกลงมาหน้าถ้ำตลอดทั้งปีเหมือนกัน  ถ้ำพวง เป็นที่หลวงปู่หล้า  เขมปตฺโต  เคยปฏิบัติธรรม  เป็นโพลง ลึกเข้าไปในโพลงหิน เพราะเมื่อสมัยก่อนเรียกถ้ำที่เป็นโพลงลึกเข้าไปว่า  พวง   แต่ทุกวันนี้ เรียกถ้ำพวงว่า  ถ้ำตะวันแดง  ถ้ำพวงจุดนี้ จะมีสิ่งพิเศษ เกิดขึ้นอยู่ใกล้เคียง กับถ้ำพวงโดยธรรมชาติอย่างน่าอัศจรรย์โดยธรรมชาติสร้างสรรค์  ไว้อย่างลงตัวคือ  สะพานเชื่อมฟ้า คือเป็น หินที่ถูกธรรมชาติกัดกร่อน จนเป็นสะพานเดินข้าม   ไปสู่ภูเขาหินอีกลูกได้อย่างลงตัว    เหมือนสะพานหินที่มีใครไปสร้างเอาไว้  ให้เชื่อต่อกับท้องฟ้าอย่างสวยงาม  สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบ ๆ คือเมืองสกลนครและหนองหารได้ทั้งจังหวัด    ในพื้นที่ใกล้เคียงกับสะพานเชื่อมฟ้า  ก็จะพระเจดีย์หินเก่า  โดยมีหินเรียงกันเป็นชั้น ๆ เหมือนเจดีย์หินโบราณ  คล้ายกับว่ามีคนนำเอาหินมาตั้ง  สูงขึ้นให้เป็นเจดีย์เอาไว้ โดยเรียงจากก้อนใหญ่ ไปหาก้อนเล็ก  และตั้งอยู่บนลานหินกว้างบนหน้าผาแด่น  มองแล้วก็จะเห็นเป็นพระเจดีย์หินตั้งสง่าอยู่บนหน้าผาแด่นสวยงาม  กลมกลืนกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว   และบนเทือกเขาภูผาแด่นมีสิ่งอัศจรรย์อีกสิ่งหนึ่ง คือ บ่อน้ำทิพย์สุญญตา  ถือได้ว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  ที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการนำมาใช้อุปโภค บริโภค ในวัดถ้ำผาแด่น และบ่อน้ำแหล่งนี้  จะใส่สะอาดบริสุทธิ์ ผุดขึ้นมาจากกลางป่าดงดิบ รกชัฏ  ของภูผาแด่น โดยน้ำไหลออกบ่อตลอดทั้งปีไม่เคยขาด  แต่บางครั้งเมื่อมีปัญหา  หรือใครไปทำอะไรไม่ดี หรือไม่เคารพต่อบ่อน้ำก็จะหยุดไหลเอาดื้อ ๆ  จนต้องหาดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา  จึงไหลออกมาเหมือนเดิม    

 (_thumbs) 2010914_38079.jpg(_thumbs) 2010914_38091.jpg 

 ประวัติ  วัดถ้ำผาแด่น

          วัดถ้ำผาแด่น  เป็นวัดเก่าแก่อีกวัดหนึ่งในจังหวัดสกลนคร  ซึ่งมีอายุและความเป็นมา  เป็นร้อยปี  เบื้องต้นนี้ จะขอเล่าประวัติวัดถ้ำผาแด่นตามที่ปรากฏในทะเบียนวัด  ที่ได้จดทะเบียนขึ้นเป็นวัดถูกต้อง  โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483  เจ้าคุณสรญาณ รองเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร  สังกัดมหานิกาย  ในขณะนั้น    ได้ไปจดทะเบียนเป็นวัดถูกต้อง เอาไว้   ดังมีรายละเอียดประวัติวัดถ้ำผาแด่น  พอสังเขป  โดยมีชื่อตามที่ปรากฏในทะเบียนสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2483 ดังนี้  วัดถ้ำผาแด่น ตั้งอยู่ที่บ้านดงน้อย  หมู่ที่ 9 ตำบลดงมะไฟ  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3,000 ไร่  อาณาเขต  ทิศเหนือจดเขตภูเขา ทิศใต้จดเขตภูเขา ทิศตะวันออกจดภูเขา  ทิศตะวันตกจดเขตภูเขา  อาคารเสนาสนะประกอบด้วย  ศาลาการเปรียญกว้าง  15 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ. 2532  กุฏิสงฆ์เป็นอาคารไม้  5 หลัง อาคารมุงจาก  10  หลัง  ศาลาบำเพ็ญกุศลสร้างด้วยไม้ 2  ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปพระประธาน  4 องค์  หน้าตักกว้าง 50 นิ้ว สร้าง พ.ศ.2484 โดยพระสี และชาวบ้าน

        วัดถ้ำผาแด่น  ตั้งวัดเมื่อ  พ.ศ.2483 โดยมีพระมหาเส็ง  นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้น  การบริหารและการปกครอง  มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ   รูปที่ 1  พระมหาเส็ง    รูปที่ 2 พระกอง    รูปที่ 3 พระสี    รูปที่ 4  พระมหาทองสุก รูปที่ 5   พระผาย   รูปที่ 6  พระอุดม  รูปที่  7  พระนำชัย มนฺตคุตฺโต พ.ศ.2532 – 2533   รูปที่ 8 พระวิเศษ  เตชธโร ตั้งแต่ พ.ศ.2533  เป็นต้นมา    ข้างบนที่กล่าวมานี่เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น  ตามที่มีชื่อปรากฏในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ   และก็เป็นประวัติวัดถ้ำผาแด่น  อีกหน้าหนึ่งซึ่งรับการยืนยัน  เรียบเรียง จากคณะโยมพ่อทองใบ  อ่อนจงไกร และคุณโยมแสง  อ่อนจงไกร ซึ่งเป็นลูก  ได้เล่าว่า   เมื่ออดีตใน วันหนึ่งของเดือน 6  ปีมะโรง พ.ศ.2483  ได้มีคณะพระอาจารย์สายปฏิบัติกัมมัฏฐาน คณะหนึ่งได้เดินจาริกธุดงค์  มาจากอาวาสวัดป่าสุทธาวาส บ้านดงบาก  ในเมืองสกลนคร  จำนวน 5 รูป  และโยมพ่อขาวอีก 2 คน  โดยทราบชื่อว่า พระผู้เป็นผู้นำคณะ องค์ที่ 1 คือ หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต องค์ที่ 2 คือ พระอาจารย์ หลวงพ่อ มหาทองสุก  สุจิตฺโต องค์ที่ 3 คือพระอาจารย์ หลวงพ่อ พรหม  จิรปุณฺโณ  องค์ที่ 4  พระอาจารย์ หลวงพ่อ วัน  อุตฺตโม  องค์ที่  5 พระอาจารย์ หลวงพ่อ เส็ง  ปุสฺโส   โดยพระอาจารย์ทั้ง 5  ได้จาริกธุดงค์ มาปักกลด  วิเวก บำเพ็ญสมณะธรรม วิปัสสนากัมมัฏฐาน ณ สถานที่บ้านดงน้อย บริเวณทางขึ้น เขาภูผาแด่น  ในช่วงเวลา 5 โมงเย็น   ซึ่งเป็นเวลาที่ชาวบ้านกลับจากหาของป่า   ตามที่เคยออกหากินเป็นเช่นนี้ประจำ ของชาวบ้านดงน้อย จึงได้มาพบเห็นพระอาจารย์ทั้ง 5 ในสถานที่ดังกล่าว จึงได้นำเรื่องดังกล่าว  ที่ได้พบเห็น ซึ่งเป็นเหตุการณ์  ที่ไม่ได้พบเห็นบ่อย ๆ  นัก ที่จะได้พบพระธุดงค์  ดังนั้นชาวบ้านจึงได้นำเรื่องดังกล่าวไปบอกผู้นำหมู่บ้าน  ซึ่งในขณะนั้น คือ คุณโยมพ่อ ทองใบ   อ่อนจงไกร ให้ได้ทราบความเป็นมาที่ได้พบเห็น   ฝ่ายคุณพ่อทองใบ  อ่อนจงไกร  เมื่อได้รับแจ้งเรื่องดังกล่าวจากลูกบ้าน  จึงไม่รอช้า  ได้ประกาศเชิญชวนเพื่อนบ้าน  ลูกหลานได้รับทราบโดยทั่วกัน  เมื่อได้เวลาอันสมควรแล้ว  จึงได้พาคณะลูกบ้านเดินทางไปกราบไหว้  และได้เรียนถามถึงความประสงค์และความจำเป็นของพระอาจารย์ทั้ง 5   คุณพ่อทองใบ จึงได้กราบเรียนถึงความประสงค์ของพระอาจารย์ทั้ง  5  ว่า มีความประสงค์สิ่งใดที่จะให้พวกข้าน้อยทราบด้วย และมีสิ่งประการใดในที่จะให้พวกข้าน้อยช่วยได้บ้าง ขอให้บอกให้ทราบด้วย  พระอาจารย์ทั้ง  5 เทศนาโปรดญาติโยม

                       เมื่อคณะพระอาจารย์ทั้ง  5  ได้เห็นชาวบ้านดงน้อย  ออกมาต้อนรับและสอบถามถึงความประสงค์ และได้แจ้งว่ามีความยินดีจะช่วยเหลือ    พระอาจารย์ทั้ง  5  โดยพระอาจารย์ มหาทองสุก สุจิตฺโต  ได้ไปตอบว่า     คณะพระอาจารย์ทั้ง 5 รูปที่ได้จาริกธุดงค์มาที่นี่ มีความประสงค์ก็เพื่อที่จะถือธุดงค์ นั่งสมาธิ  วิปัสสนากัมมัฏฐาน วิเวก บำเพ็ญสมณะธรรม  ที่บนถ้ำผาแด่นแห่งนี้   หากมีความเหมาะสม สับปายะดี  อาจจะมาอยู่จำพรรษาภาวนาธรรม ที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ สักหนึ่งถึงสองพรรษา จึงจะลงไปจากถ้ำผาแด่นนี้  ขอแต่คณะญาติโยมจะมีความเห็นเป็นอย่างไร  เพียงแต่ว่าคณะพระอาจารย์ ที่มาในวันนี้  ยังไม่มีข้อมูล  เกี่ยวกับสถานที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ ว่าเป็นมาอย่างไรยังไม่ทราบ  จึงอยากจะขอความช่วยเหลือ  จากคุณโยมทั้งหลาย  ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ถ้ำผาแด่นแห่งนี้ พอเป็นแนวทางได้บ้าง ในบางสิ่งบางอย่าง พอที่จะเป็นแนวทางบางกรณีได้บ้าง อาตมาคิดว่าจะเดินทางไปให้ถึงวันนี้  พอที่จะมีเวลาพอไหมก่อนมืด  หรือคุณโยมทั้งหลาย มีความคิดเห็นเป็นประการใด  ขอให้เล่าสู่ฟังบ้าง      เมื่อคุณพ่อทองใบ พร้อมญาติโยมชาวบ้านดงน้อย ได้รับฟัง ดังที่พระอาจารย์ หลวงพ่อ หมาทองสุก เทศนา  ทางญาติโยม  จึงได้แจ้งความเห็นไปว่า หากคณะพระอาจารย์จะเดินทางไปถ้ำผาแด่น  โดยไปให้ถึงในวันนี้  พวกข้าน้อยกลัวจะมีปัญหาหลายประการ คือ( 1)  ระยะทางจากนี้ไปถึงถ้ำผาแด่น ระยะทางไกลมากถึง 7-8 กิโลเมตร (2) ระยะทางที่จะเดินไปนั้นกลัวจะเกิดอันตรายด้วยสัตว์ป่ามีพิษและสัตว์ร้ายที่ออกหากินช่วงพบค่ำพอดี (3)  เมื่อเดินทางไปถึงแล้วจะเป็นเวลาที่ค่ำมืด  อาจจะมีปัญหาเรื่องที่พักและที่หลับนอนอยู่บ้าง พวกข้าน้อยอยากจะขอนิมนต์คณะพระอาจารย์ได้ปักกลด จำวัด อยู่ข้างล่างนี้สักคืน พอตื่นรุ่งขึ้น  ฉันจังหันเสร็จแล้ว แล้วค่อยเดินทางขึ้นถ้ำผาแด่นต่อไป คงจะดีกว่า  เมื่อพระอาจารย์ได้ฟังดังที่คุณพ่อทองใบ และคณะญาติโยมให้ความเห็นก็ตอบตกลง  เดินทางขึ้นถ้ำผาแด่น 

          พอรุ่งขึ้น  ในเช้าของวันใหม่   เมื่อคณะพระอาจารย์ทั้ง  5  ได้ฉันจังหันเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  คณะญาติโยมชาวบ้านดงน้อย ทั้งหลาย จึงได้นำคณะพระอาจารย์ทั้ง  5  ออกเดินทางสู่ถ้ำผาแด่น ด้วยความสดชื่น ตื่นเต้นระทึกใจ ในสภาพที่เห็นความสมบูรณ์ของป่า  ที่ได้เห็นฝูงสัตว์น้อยใหญ่ วิ่งไปมา หลายสายพันธุ์ชนิด ออกมาต้อนรับ พระผู้ทรงศีล  อย่างที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยปรากฏมาก่อน   นับได้ว่าบนผืนป่าแห่งนี้ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์เป็นยิ่งนัก  เมื่อคณะพระอาจารย์และชาวบ้านดงน้อย ได้เดินทางมาถึงถ้ำผาแด่นแล้ว ก็ช่วยกันจัดแจง จัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับพระอาจารย์  อย่างขมักขะเม้น และต่างก็พากันตื่นเต้นเป็นอย่างมากในแต่ละคน  ในไม่ช้าก็สมควรแก่เวลาใกล้พบค่ำ  คณะชาวบ้านจึงได้กราบลาพระอาจารย์ทั้ง  5  กลับสู่หมู่บ้านดงน้อย  สำหรับผู้ไม่มีภารกิจอะไร ก็อยู่จำศีลภาวนารับใช้  อยู่กับคณะพระอาจารย์จนถึงวันรุ่งขึ้น  เพื่อทำธุรกิจ  จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ที่ยังขาด ไม่เพียงพออยู่กับพระอาจารย์จนถึงค่ำวันใหม่ต่อไป เพราะนับเป็นโอกาสอันดี  ที่หาได้อยากมากที่จะได้สร้างบารมีกับพระธุดงค์  ที่น่าเคารพศรัทธาบิณฑปาติกัง  ธุดงควัตร  

        เมื่อพระอาจารย์ทั้ง  5   ซึ่งท่านเป็นพระ  สายพระป่าถือภิกขาจารวัตร  ออกเที่ยวบิณฑบาตเพื่อคบฉันเป็นวัตร อยู่เป็นประจำ  จะด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้หรือไม่  จึงทำให้พระอาจารย์ หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต   ซึ่งท่านมีอายุสังสารมากถึง  70 ปีแล้ว     จึงทำให้ท่านมีความเพียรในทุกกรณี  ในทุกที่ที่ได้จาริก ภิกขาจารวัตร เที่ยวรับบิณฑบาตเป็นประจำ  ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกล  ต้องอกเดินทางวันละหลาย ๆ กิโลเมตร  และต้องขึ้น ลง จากภูเขาที่สูงชัน อยู่ทุกเช้าเป็นประจำ   อยู่มาวันหนึ่งคณะลูกศิษย์ที่ติดตามหลวงปู่มั่น ฯ ได้ปรึกษาหาแนวทางแก้ไข  ในเรื่องดังกล่าว  จึงได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า  ให้ย้ายหอฉันที่ตั้งอยู่บนถ้ำผาแด่น เพราะลำบากต่อการขึ้น-ลง โดยให้ลงไปฉันที่บริเวณดานกกแต้ น่าจะเป็นทางออกที่จะแก้ไขได้บ้าง  ดังนั้น จึงได้ตกลงมาฉันที่หอฉันที่บนหินดานกกแต้    ในวันต่อมา และเป็นการสะดวกในการเดินจงกลม นั่งสมาธิ  วิปัสสนากัมมัฏฐาน สำหรับหลวงปู่มั่น ได้เป็นอย่างดี   ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

        เกิดปรากฏการณ์น่าอัศจรรย์  อภินิหาร ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

    ได้เกิดอภินิหารเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ขึ้น  15 ค่ำ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดฝัน  หลังจากที่คณะลูกศิษย์  ได้พากันทยอยกลับสู่ที่พักของแต่ละรูป  หลังจากได้มาอุปถาก ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ ตามที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกวันได้ลาหลวงปู่มั่น  กลับสู่เสนาสนะของแต่ละท่าน  หลังจากที่ได้อยู่ปรนนิบัติครูบาอาจารย์ และได้รับฟังเทศน์ ฟังธรรมคำสอนหลวงปู่มั่น  ซึ่งเป็นวัตรปฏิบัติประจำวันมาโดยตลอด  โดยเฉพาะวันพระ วันขึ้น 15 ค่ำ หลังจากทุกรูปกลับเข้าสู่ที่ปักกลดแล้ว  ได้มีสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดไว้คือ มีเจ้าเสือโคร่งลายพาดกอนตัวหนึ่ง  ได้มาปรากฏตัว  นอนหมอบอยู่ข้างหน้าห่างออกไปประมาณ  7 วา โดยที่เขาไม่มีกิริยาอาการใด ๆ  ซึ่งขณะนั้นเอง หลวงปู่มั่น กำลังนั่งสมาธิภาวนาอยู่ เป็นเวลาเที่ยงคืนเศษ  หลวงปู่มั่นได้แผ่เมตตา  ส่งกระแสจิตเทศนาสั่งสอนเสือตัวนั้นว่า ที่เจ้าเข้ามากราบเรา เจ้าคงมีความทุกข์ใช่ไหม  เราเป็นสัตว์โลกด้วยกัน  ต่างก็มุ่งทำความดี ไม่มีจิตเบียดเบียนซึ่งกันและกัน   เจ้าจงไปตามทางของเจ้าเถิด  หากเจ้าเกิดชาติหน้าหรือชาติไหน  ขอเจ้าจงเกิดในหมู่ของเทวดา อย่าได้มาเป็นสัตว์เดรัจฉานเลย  เมื่อหลวงปู่มั่นลืมตาจากการแผ่เมตตา ให้เสือโคร่งแล้ว   เจ้าเสือโคร่งตัวนั้นก็เดินจากหลวงปู่มั่นไป โดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ

พอรุ่งเช้า  ในช่วงที่อยู่หอฉัน  หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จหลวงปู่มั่น  จึงได้ปรารภกล่าวถึง เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา ให้คณะได้ฟัง  โดยมีตอนหนึ่งหลวงปู่เล่าต่อว่า "เมื่อคืนนี้  ได้มีเสือโคร่งมาเยี่ยมเรา และนอนเฝ้าเป็นเพื่อนเรา แต่เขาก็ไม่ได้แสดงกิริยาใด ๆ  สักพักก็เดินจากไป คิดว่าเสือตังนั้น คงจะมาบอกอะไร  หรือมาลาเราสักอย่างแหละ

เมื่อก่อนนั้น  เสือตัวนี้เป็นเสือที่ดุร้ายมาก  เคยกัดกินวัวของชาวบ้านมาหลายตัวแล้ว โดยเฉพาะที่ภูทับควายบ้านหนองไผ่ และภูทับควายบ้านนากับแก้ โดยไม่เลือกแม้กระทั้งหมาชาวบ้านยังถูกเสือกัดกินเลย  แต่ความจริงก็คือความจริง เมื่อบาปมีจริง กรรมได้สนองกรรม  ในเวลาต่อมาไม่กี่วัน  เสือโคร่งตัวนี้ก็ถูกนายพรานบ้านนากับแก้ คือ นายพรานเขียน,นายพรานจารใด,นายพรานเพียร ได้ขึ้นห้างดักยิงที่ ภูคำบง ยิงตาย และได้นำไปขายในตลาดราคาตัวละ 300  บาท เงิน 300 ถือว่ามีค่ามากในสมัยนั้น

จากนั้นก็ไม่มีเสือมากินวัวชาวบ้านอีกเลย แสดงว่าเสือตัวนั้นรู้ว่าตัวเองจะต้องตาย  จึงมากราบขอพร และฟังเทศน์จากหลวงปู่มั่น ก่อนตัวเองจะตาย และเรื่องที่ยิงเสือตายไม่ใช่เรื่องนิยาย แต่เป็นเรื่องจริง สามารถตรวจสอบจากชาวบ้านได้  

     (_thumbs) 2010914_38103.jpg(_thumbs) 2010914_38169.jpg(_thumbs) 2010914_38203.jpg       

 

 
 (_thumbs) 2010914_38221.jpg(_thumbs) 2010914_38245.jpg(_thumbs) 2010914_38262.jpg
 

(_thumbs) 2010914_38404.jpg

(_thumbs) 2010914_38421.jpg

 

(_thumbs) 2010914_38439.jpg

(_thumbs) 2010914_38456.jpg

 

รายนามคณะพระอาจารย์ที่ถือธุดงควัตร วิปัสสนากัมมัฏฐาน และบำเพ็ญสมณะธรรม ณ วัดถ้ำผาแด่น

บ้านดงน้อย  ตำบลดงมะไฟ  อำเภอเมือง  จังหวัดสกลนคร  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 – ถึงปัจจุบัน2553

 

1. พระอาจารย์   หลวงปู่มั่น  ภูริทตฺโต                                ปี พ.ศ.2483 – 2483  เป็นพระผู้นำคณะ

 2.พระอาจารย์ หลวงพ่อ มหาทองสุก สุจิตฺโต                    ปี พ.ศ.2483 – 2483  เป็นพระลูกศิษย์

 3.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  พรหม จิรปุณฺโญ                        ปี พ.ศ.2483 – 2483  เป็นพระลูกศิษย์

 4.พระอาจารย์ หลวงพ่อ   วัน อุตฺตโม                                ปี พ.ศ.2483 – 2483  เป็นพระลูกศิษย์

 5.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  เส็ง ปุสฺโส                                   ปี พ.ศ.2483 – 2483  เป็นพระลูกศิษย์

 6.พระอาจารย์ หลวงปู่ ฝั้น อาจาโร                                     ปี พ.ศ.  -----------     อยู่ปฏิบัติธรรม

 7.พระอาจารย์ หลวงปู่ หล้า เขมปตฺโต                               ปี พ.ศ.  -----------     อยู่ปฏิบัติธรรม

 8.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  สี พรหมโครต                            ปี พ.ศ.2484 – 2486  เป็นเจ้าอาวาส

 9.พระอาจารย์ หลวงพ่อ ผาย                                              ปี พ.ศ.2493 – 2498  เป็นเจ้าอาวาส

10.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  สิงห์                                           ปี พ.ศ.2493 – 2498  เป็นพระลูกวัด

11.พระอาจารย์ หลวงพ่อ   มหาสังกรณ์   คนฺธสีโล            ปี พ.ศ.2498 – 2500  เป็นเจ้าอาวาส

12.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  ครุฑ  ปญฺญามโน                      ปี พ.ศ.2498 – 2500  เป็นพระลูกวัด

13.พระอาจารย์ หลวงพ่อ มหาเส็ง          

14.พระอาจารย์ หลวงพ่อ  อุดม                                    

15.พระอาจารย์ หลวงพ่อ นำชัย  มนฺตคุตฺโต                      ปี พ.ศ.2532 – 2533  เป็นเจ้าอาวาส

16.พระอาจารย์ หลวงพ่อ วิเศษ   เชธโร                             ปี พ.ศ.2533 –2534   เป็นเจ้าอาวาส

17.พระอาจารย์  หลวงพ่อ แล                                             ปี พ.ศ.2535 –2542   เป็นเจ้าอาวาส

18.พระอาจารย์ หลวงพ่อสมควร   จกฺธมฺโม                       ปี พ.ศ. 2547 – 2548 อยู่ปฏิบัติธรรม

19. พระอาจารย์   หลวงพ่อ สมบัติ                                     ปี พ.ศ.2548 –2550  เป็นเจ้าอาวาส

20.พระอาจารย์ หลวงพ่อ ปกรณ์  กนฺตวีโร                         ปี พ.ศ.2551 – ปัจจุบัน  เป็นเจ้าอาวาส

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 33,703 Today: 6 PageView/Month: 9

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...